กรมศุลกากรกับการคุ้มครองเครื่องหมายการค้า

สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าปลอมหรือเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ถือเป็นสินค้าที่ต้องห้ามส่งออก และห้ามนำเข้ามาในประเทศไทย กรมศุลกากรจึงได้ดำเนินการควบคุมสินค้าดังกล่าวโดยการสร้างระบบฐานข้อมูลเครื่องหมายการค้าและลิขสิทธิ์ (Thai Customs IPR Recordation System : TCIRs) ซึ่งเป็นช่องทางให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าสามารถแจ้งข้อมูลเครื่องหมายการค้าของตน เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลของพนักงานศุลกากรในการตรวจสอบสินค้าที่ต้องสงสัยว่าละเมิดเครื่องหมายการค้า หรือทำการละเมิดเครื่องหมายการค้า รวมไปถึงการอายัดสินค้าดังกล่าวได้ 

อย่างไรก็ตาม เครื่องหมายการค้าที่สามารถแจ้งข้อมูลต่อกรมศุลกากรได้ จะต้องเป็นเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนเท่านั้น และเจ้าของเครื่องหมายการค้าสามารถแจ้งข้อมูลล่วงหน้าได้ โดยไม่ต้องรอให้เกิดการละเมิดขึ้นก่อน โดยมีรายการเอกสารที่ใช้ประกอบคำขอแจ้งข้อมูลเครื่องหมายการค้า ดังนี้

  1. สำเนาหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า หรือสำเนาทะเบียนเครื่องหมายการค้า
  2. สำเนาบัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองนิติบุคคลที่ออกให้ไม่เกินหกเดือน ของเจ้าของสิทธิ ตัวแทนสิทธิ หรือผู้รับมอบอำนาจ (กรณีหนังสือรับรองของนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศจะต้องมีสำเนาหนังสือโนตารี ลงชื่อและรับรองสำเนาถูกต้องพร้อมคำแปลฉบับภาษาไทยและลงชื่อรับรอง)
  3. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

(กรณีมอบอำนาจในต่างประเทศจะต้องมีสำเนาหนังสือโนตารี ลงชื่อและรับรองสำเนาถูกต้อง หากเอกสารจัดทำขึ้นในภาษาต่างประเทศให้จัดทำคำแปลฉบับภาษาไทยและลงชื่อรับรองคำแปลถูกต้อง)

เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนจึงสามารถช่วยให้เจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นได้รับความคุ้มครองอย่างสูงสุด และสามารถป้องกันการถูกละเมิดเครื่องหมายการค้าได้ ทั้งนี้ นอกจาก IDG จะมีบริการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้ว เรายังได้มีบริการซื้อขายเครื่องหมายการค้าบนแพลทฟอร์ม Litetrademark อีกด้วย โดยรวบรวมเครื่องหมายการค้าที่ได้รับจดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายให้ท่านได้เลือกซื้อ เพื่อช่วยประหยัดเวลาในการยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และช่วยให้สินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าได้รับความคุ้มครองอย่างรวดเร็ว 

ที่มา: http://ipr.customs.go.th/cont_strc_simple_with_date.php?current_id=142329324146505f4c&lang=th&left_menu=menu_trademark_database_220929_01

Related Blog