ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา

ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา

ปัจจุบันผู้คนหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องของ “ทรัพย์สินทางปัญญา” กันมากขึ้น ซึ่งเรามักจะเห็นการพูดถึงเรื่อง “ละเมิดลิขสิทธิ์” อยู่บ่อย ๆ เมื่อเกิดกรณีการลอกเลียนแบบสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของศิลปะ โลโก้ เทคโนโลยี หรือแม้แต่สิ่งประดิษฐ์ แต่จริง ๆ ทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายถึงลิขสิทธิ์เพียงเท่านั้น

เพราะคำว่า “ทรัพย์สินทางปัญญา” หมายถึง ผลงานอันเกิดจากการประดิษฐ์ คิดค้น หรือการสร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่งเน้นที่ผลผลิตของสติปัญญาและความชำนาญ โดยไม่จำกัดชนิดของการสร้างสรรค์หรือวิธีการแสดงออกในรูปแบบของสิ่งที่จับต้องได้ เช่น สินค้าต่าง ๆ หรือในรูปแบบของสิ่งของที่จับต้องไม่ได้ เช่น บริการ แนวคิดในการดำเนินธุรกิจ กรรมวิธีการผลิตในอุตสาหกรรม เป็นต้น

โดยทรัพย์สินทางปัญญานั้น ถูกแบ่งออกเป็นทั้งหมด 2 ประเภท ได้แก่ ลิขสิทธิ์ (Copyright) ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้คนมักจะพูดถึงอยู่บ่อย ๆ และอีกประเภทคือ ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property)

สำหรับ ลิขสิทธิ์ (Copyright) หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่จะกระทำการใด ๆ กับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกในรูปแบบอย่างใด แต่จะไม่ได้ครอบคลุมถึงความคิด ขั้นตอน กรรมวิธี แนวความคิด หลักการ ในการสร้างสรรค์งาน

ในปัจจุบัน ลิขสิทธิ์ ถูกแยกย่อยออกเป็นงานสร้างสรรค์ทั้งหมด 9 ประเภท ได้แก่ วรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ และงานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ

ส่วน ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property) หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น กระบวนการหรือเทคนิคในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เป็นองค์ประกอบและรูปร่างของตัวผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังรวมถึง เครื่องหมายการค้า ความลับทางการค้า การคุ้มครองพันธุ์พืช แบบผังภูมิของวงจรรวม และสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น

โดย ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม ก็ได้ถูกแยกย่อยออกมาเป็น สิทธิบัตร ซึ่งรวมถึงสิทธิบัตรการประดิษฐ์ อนุสิทธิบัตร สิทธิบัตรการออกแบบและผลิตภัณฑ์ เครื่องหมายการค้า ความลับทางการค้า สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และแบบผังภูมิศาสตร์

ดังนั้นเมื่อรู้จักเรากับประเภทของทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว ก็จะช่วยให้สามารถปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาของตนเองโดยการขอรับความคุ้มครองจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้

#Litetrademark

Source : http://www.ipthailand.go.th/images/2562/Suppress/lesson1.pdf

Related Blog