“TRADE DRESS” กับการคุ้มครองการจัดตกแต่งร้าน

รู้จัก “TRADE DRESS” กับการคุ้มครองการจัดตกแต่งร้าน

รู้จัก “TRADE DRESS”
กับการคุ้มครองการจัดตกแต่งร้าน
.
ปัจจุบันเรามักจะเห็นร้านค้าต่างๆ นั้นมีการตกแต่งร้านแบบมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เมื่อเห็นก็ทราบได้ทันทีว่าเป็นร้านของใคร ซึ่งการจัดรูปแบบหรือการตกแต่งดังกล่าวอาจถือได้ว่าเป็น Trade Dress หรือ เครื่องหมายรูปลักษณ์ ซึ่งมีการคุ้มครองตามกฎหมายด้วย
.
เครื่องหมายรูปลักษณ์ (Trade Dress) หมายถึง การให้ความคุ้มครองเครื่องหมายในภาพรวม เช่น การคุ้มครองฉลากหีบห่อของสินค้า ที่นอกเหนือจากเครื่องหมายการค้า รวมถึงให้ความคุ้มครองการจัดตกแต่งหน้าร้านหรือสถานที่ให้บริการอันมีลักษณะโดดเด่นเป็นที่จดจำของผู้บริโภค
.
อย่างในสหรัฐฯเองก็ให้ความคุ้มครองที่เรียกว่า The Lanham Act หรือ Trademark Act 1946 กล่าวคือการจัดรูปแบบตกแต่งร้านซึ่งเป็นเครื่องหมายรูปลักษณ์สามารถได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายได้ โดยศาลฎีกาของสหรัฐฯ ได้ให้คำนิยามในการคุ้มครององค์ประกอบโดยรวมในรูปลักษณ์ของสินค้ารวมไปถึงการบริการ เช่น การจัดตกแต่งร้าน เครื่องแบบพนักงาน รวมถึงเทคนิคการขายด้วย
.
แต่สำหรับประเทศไทย ยังไม่อาจให้ความคุ้มครองไปถึงรูปแบบการตกแต่งร้านซึ่งเป็นเครื่องหมายรูปลักษณ์ได้ เนื่องจากตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2543 มาตรา 4 ซึ่งบัญญัติว่า “เครื่องหมาย” หมายความว่า ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คำ ข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ กลุ่มของสี รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ เสียง หรือสิ่งเหล่านี้อย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน
.
อย่างไรก็ตาม แม้ในไทยเองจะยังไม่มีกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองแก่เครื่องหมายรูปลักษณ์ แต่เราก็สามารถขอรับความคุ้มครองตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่ในปัจจุบันได้ โดยพิจารณาต่างรูปแบบที่เหมาะสม เช่น ขอรับความคุ้มครองชื่อร้านตามกฎหมายเครื่องหมายการค้า หรือหากมีสิ่งประดิษฐ์ใดๆ ที่ใช้ในร้านก็สามารถขอรับความคุ้มครองตามกฎหมายสิทธิบัตร หรือสูตรอาหารก็สามารถขอรับความคุ้มครองตามกฎหมายความลับทางการค้า นอกจากนี้หากมีงานสร้างสรรค์ใดๆ ก็สามารถขอรับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ได้เช่นกัน
.
#Litetrademark #เครื่องหมายการค้า
.
Source : www.idgthailand.com

Related Blog