“ลิขสิทธิ์” และ “เครื่องหมายการค้า” แตกต่างกันอย่างไร ?

เมื่อพูดถึงทรัพย์สินทางปัญญา หลายคนมักจะเรียกรวม “ลิขสิทธิ์” และ “เครื่องหมายการค้า” ว่าเป็นลิขสิทธิ์เพียงอย่างเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้ว ทั้งลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้าต่างก็มีความคุ้มครองคนละส่วนกัน รวมถึงวิธีการได้รับความคุ้มก็มีแตกต่างกันด้วย

สำหรับ “ลิขสิทธิ์” จะให้ความคุ้มครอง “งานสร้างสรรค์” ที่ถูกแบ่งย่อยเป็นทั้งหมด 9 ประเภท ได้แก่

  1. วรรณกรรม
  2. นาฏกรรม
  3. ศิลปกรรม
  4. ดนตรีกรรม
  5. โสตทัศนวัสดุ
  6. ภาพยนตร์
  7. สิ่งบันทึกเสียง
  8. งานแพร่เสียงแพร่ภาพ
  9. งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ

ซึ่งงานดังกล่าวให้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวแก่ผู้สร้างสรรค์งานสร้างสรรค์จะได้โดยจะได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ทันทีนับตั้งแต่วันที่ได้มีการสร้างสรรค์ผลงานออกมาอย่างเป็นรูปธรรม โดยไม่ต้องยื่นจดทะเบียนใดๆ แต่ยังสามารถจดแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ไว้กับกรมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อแสดงไว้เป็นหลักฐานได้ แต่ไม่ว่าจะจดแจ้งลิขสิทธิ์หรือไม่ ก็จะได้รับความคุ้มลิขสิทธิ์เท่ากับช่วงชีวิตของผู้สร้างสรรค์และบวกอีก 50 ปี นับแต่วันที่ผู้สร้างสรรค์เสียชีวิต

ส่วน “เครื่องหมายการค้า” มีไว้เพื่อบ่งชี้หรือแยกแยะสินค้าและบริการที่มีอยู่ในท้องตลาด มีไว้เพื่อคุ้มครองชื่อสินค้า ชื่อบริการ โลโก้ คำโฆษณาหรือสโลแกนที่มีเอกลักษณ์ โดยจะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนต่อกรมทรัพย์ทางปัญญาเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตามกฏหมาย จะทำให้มีอำนาจและมีสิทธิเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียวในการใช้เครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ โดยมีอายุความคุ้มครอง 10 ปี และสามารถต่ออายุได้ทุกๆ 10 ปี

 

สำหรับใครที่กำลังเริ่มต้นธุรกิจและต้องการจดทะเบียนเครื่องการค้าหรือจดแจ้งลิขสิทธิ์ ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
โทรศัพท์ : 02-011-7161 ต่อ 108
Email: [email protected]
LINE: @761ocudh

Related Blog