NFT ART สินทรัพย์ดิจิทัล

NFT ART สินทรัพย์ดิจิทัล ที่ผู้ซื้ออาจไม่ได้เป็นเจ้าของสิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญา

NFT ART สินทรัพย์ดิจิทัล
ที่ผู้ซื้ออาจไม่ได้เป็นเจ้าของสิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญา
.
NFT ย่อมาจาก Non-Fungible Tokens หมายความถึงโทเคนที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยมีความเฉพาะตัว ไม่สามารถนำโทเคนดิจิทัลอื่นมาทดแทนกันได้ จึงได้มีการสร้างผลงานศิลปะและนำไปอิงกับกับโทเคนดิจิทัลเพื่อให้เกิดความพิเศษกว่าโทเคนดิจิทัลอื่นๆ ซึ่งอาจมีโทเคนเดียวในโลกและนำไปออกขายบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนกับคริปโทเคอร์เรนซีแล้วจึงนำไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินสดอีกที
.
ในทางกฎหมายนั้น “NFT” ถือเป็นทรัพย์สิน จึงสามารถซื้อขายกันได้ โดยผู้ซื้อ “NFT” จะเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในการครอบครองโทเคนดิจิทัลที่มีลักษณะพิเศษหรือมีโทเคนเดียวในโลกนั้นๆ และสามารถขาย หรือ โอนโทเคนดิจิทัลนั้นๆ ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งจะต่างจากการนำงานศิลปะอันมีลิขสิทธิ์ที่นำไปอิงกับ NFT นั้น ๆ
.
เนื่องจากพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ได้กำหนดให้งานศิลปะ มีลิขสิทธิ์คุ้มครองนับตั้งแต่วันที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ผลงานโดยไม่ต้องจดทะเบียนเหมือนทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอื่นๆ
.
ดังนั้นการซื้อขาย NFT ผู้ซื้อจะต้องพิจารณาสัญญาซื้อขายให้ชัดเจนว่ามีสิทธิมากน้อยเพียงใด หรือมีความเป็นเจ้าของในงานศิลปะหรือทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆ ด้วยหรือไม่ หรืออาจจะได้สิทธิเฉพาะตามที่แพลตฟอร์มที่ใช้ซื้อขายกำหนดเอาไว้เท่านั้น ซึ่งอาจจะไม่ได้รับสิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญาของงานศิลปะนั้น ๆ มาด้วยเสมอไป
.
การเป็นของเจ้า NFT แต่ไม่ได้สิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญา อาจทำให้ผู้ซื้อไม่สามารถนำผลงานนั้นๆ มาทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่หรือจำหน่ายต่อไปได้ ดังนั้นก่อนทำการซื้อขายควรพิจารณาสัญญาให้ดี เพราะไม่ให้เราเป็นเพียงเจ้าของโทเคนดิจิทัลที่มีโทเคนเดียวแต่อาจไม่มีความพิเศษใดๆ
.
#Litetrademark #ทรัพย์สินทางปัญญา
.
Credit : https://www.infoquest.co.th/2021/138714

Related Blog